บริการสุขภาพจิตกลุ่มวัยผู้สูงอายุ โดยใช้ ความสุข 5 มิติ ในผู้สูงอายุ

"ผู้สูงอายุ คือบุคคลที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป (พรบ. ผู้สูงอายุแห่งชาติ, 2540) มีการแบ่งเกณฑ์ผู้สูงอายุตามสภาพของการมีอายุเพิ่มขึ้นในลักษณะของการแบ่งช่วงอายุของประเทศไทยดังนี้ ผู้สูงอายุ (Elderly) คือ อายุระหว่าง 60 – 69 ปี คนชรา (Old) คือ อายุระหว่าง 70 – 79 ปี คนชรา (Very old) คือ อายุตั้งแต่ 80 ปี ขึ้นไป ความสุข (Happiness) ในเชิงจิตวิทยา เป็นการวดเฉพาะความอยู่ดีทางอารมณ์ (emotional well – being) โดยวัดรวมเอามิติของสุขภาพกาย (physical health) รวมเข้ามาเป็นบริบทของความอยู่ดี มีสุข (Lyubommirsky ; 2008) ความสุข 5 มิติเป็นแนวคิดในการสร้างสุขจากหลักธรรมะ ผสมผสานกับแนวคิดการสร้างสุข เชิงจิตวิทยาและ แนวคิดในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม (อัมพร เบญจพลพิทักษ์และคณะ, 2555)เพื่อทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี โดยสามารถจำแนกความสุขของผู้สูงอายุ 5 มิติ ดังนี้ ด้านที่ 1 : สุขสบาย (Health) หมายถึง ความสามารถของผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพร่างกาย ให้มีสมรรถภาพร่างกายที่แข็งแรง คล่องแคล่ว มีกำลัง สามารถตอบสนองต่อความต้องการทางกายภาพได้ ตามสภาพที่เป็นอยู่ มีเศรษฐกิจหรือปัจจัยที่จำเป็นพอเพียงไม่มีอุบัติภัยหรืออันตราย มีสภาพแวดล้อม ที่ส่งเสริมสุขภาพ ไม่ติดสิ่งเสพติด วิธีส่งเสริมความสุขสบาย : การออกกำลังกายตามศักยภาพของตนเอง วันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง เช่น การบริหารร่างกายประจำวัน ฝึกโยคะ ฝึกชี่กง ฝึกการออกกำลังกายในท่าต่าง ๆ ด้านที่ 2 : สุขสนุก (Recreation) หมายถึง ความสามารถของผู้สูงอายุในการเลือกวิถีชีวิตที่รื่นรมย์ สนุกสนาน ด้วยการทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดอารมณ์เป็นสุข จิตใจสดชื่นแจ่มใส กระปรี้กระเปรา มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งกิจกรรมที่เหล่านี้สามารถลดความซึมเศร้า ความเครียดและความวิตกกังวลได้ วิธีส่งเสริมความสุขสนุก : 1) เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ/กิจกรรมต่างๆ ที่สร้างความสดชื่นความมีชีวิตชีวาอย่างสร้างสรรค์ และดีงาม 2) มีกิจกรรมภายในครอบครัวกับลูกหลาน เช่น ทานข้าว ไปเที่ยว พูดคุยกัน และ 3) เล่นดนตรี ศิลปะ ปลูกต้นไม้ หรืองานอดิเรกที่ชอบ ด้านที่ 3 : สุขสง่า (Integrity) หมายถึง ความรู้สึกพึงพอใจในชีวิต ความภาคภูมิใจในตนเอง ความเชื่อมั่นในตนเอง เห็นคุณค่าในตนเองการยอมรับนับถือตนเอง ให้กำลังใจตนเองได้ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีลักษณะเอื้อเฟื้อแบ่งปัน และมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้อื่นในสังคม วิธีส่งเสริมความสุขสง่า : 1) ช่วยเหลือตนเองในเรื่องง่ายๆ เช่น กิจวัตรประจำวัน 2) ช่วยเหลือกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน 3) มีจิตอาสา ให้การช่วยเหลือผู้อื่นในสังคม และ 4) ฝึกทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดีหรือผู้ถามที่ดี เช่น มองประสานตาผู้พูด ตั้งใจฟัง มีสติ และพยายามจับประเด็นสำคัญในสิ่งที่ผู้พูดพูดออกมา ซักถามในจุดที่สงสัยในประเด็นที่เป็นปัญหา ซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้ฟังตามทันในเรื่องที่ผู้พูดกำลังพูด ด้านที่ 4 : สุขสว่าง (Cognition) หมายถึงความสามารถของผู้สูงอายุด้านความจำ ความคิดอย่างมีเหตุมีผล การสื่อสาร การวางแผนและการแก้ไขปัญหา ความสามารถในการคิดแบบนามธรรม รวมทั้งความสามารถ ในการจัดการสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิธีส่งเสริมความสุขสว่าง : 1) เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อน 2) พบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อน ๆ หรือวัยอื่น ๆ และ 3) บริหารสมองอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เช่น การทำกิจกรรมบริหารสมองด้วยสองมือ ด้านที่ 5 : สุขสงบ (Peacefulness) หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการรับรู้-เข้าใจความรู้สึกของตนเอง รู้จักควบคุมอารมณ์ และสามารถจัดการกับสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถผ่อนคลาย ให้เกิดความสุขสงบกับตนเองได้ รวมทั้งความสามารถในการปรับตัวยอมรับสภาพสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง (สุจริต สุวรรณชีพ, 2554 และ สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต, 2554) วิธีส่งเสริมความสุขสงบ : 1) ฝึกการคิดเชิงบวก 2) ฝึกควบคุมอารมณ์ และ 3) ฝึกคลายเครียด/ฝึกหายใจ อย่างถูกวิธี "

ข้อมูลและทรัพยากร

ข้อมูลเพิ่มเติม

ฟิลด์ ค่า
* ประเภทชุดข้อมูล ข้อมูลระเบียน
ยินยอมให้นำชื่อชุดข้อมูลไปใช้ที่ GD-Catalog ยินยอม
* ชื่อฝ่ายงานสำหรับติดต่อ กลุ่มงานวิชาการสุขภาพจิต
* อีเมลสำหรับติดต่อ mhc03@dmh.mail.go.th
* วัตถุประสงค์ พันธกิจหน่วยงาน
* หน่วยความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล ตามเวลาจริง
ค่าความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล (ความถี่น้อยที่สุด)
* ขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์หรือเชิงพื้นที่ ไม่มี
* แหล่งที่มา พันธกิจหน่วยงาน
* รูปแบบการเก็บข้อมูล CSV
* หมวดหมู่ข้อมูลตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ข้อมูลสาธารณะ
ระดับชั้นข้อมูล
* สัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล Open Data Common
เงื่อนไขในการเข้าถึงข้อมูล ร้องขอข้อมูลการติดต่อเพิ่มเติมจากกลุ่มงานวิชาการศูนย์สุขภาพจิตที่ 3
ผู้สนับสนุนหรือผู้ร่วมดำเนินการ
หน่วยที่ย่อยที่สุดของการจัดเก็บข้อมูล
URL https://mhc3.dmh.go.th/data_catalog_mhc3/67/DataSet_21_04.csv
ภาษาที่ใช้ ไทย
วันที่เริ่มต้นสร้าง 15 มกราคม 2567
วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 27 กุมภาพันธ์ 2567
ชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง
ข้อมูลอ้างอิง
สร้างโดย การนำเข้าโดย templete
สร้างในระบบเมื่อ 28 พฤษภาคม 2567
ปรับปรุงครั้งล่าสุดในระบบเมื่อ 17 กันยายน 2567