บริการสุขภาพจิตกลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่น โดยใช้โปรแกรมฉลาดรัก ฉลาดเลี้ยง (7 days parenting)

"- วัยเรียน โปรแกรมฉลาดรัก ฉลาดเลี้ยง (7 days parenting) เป็นโปรแกรมสำหรับบุคลากรสาธารณสุข และบุคลากรการศึกษาในการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการเลี้ยงดูสำหรับผู้ปกครองและเด็กวัยเรียน อายุระหว่าง 6 - 12 ปี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ให้สามารถสร้างความรักความผูกพัน สร้างวินัย และพัฒนาความฉลาดรอบด้านของเด็กวัยเรียนได้อย่างมีคุณภาพ ช่วยเพิ่มทักษะการเลี้ยงดูเด็กของพ่อแม่ ผู้ปกครอง เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความฉลาดรอบด้าน สามารถปรับตัวและเรียนรู้กับการเปลี่ยนแปลง ในโลกอนาคตได้อย่างมีความสุข เป็นพลเมืองสุขภาพจิตที่เก่ง ดี และมีความสุข โปรแกรมฉลาดรัก ฉลาดเลี้ยง (7 days parenting) เป็นกิจกรรมกลุ่มที่สามารถทำกับครอบครัวประมาณ 10 - 40 ครอบครัวพร้อมกัน โดยสัดส่วนประมาณ ผู้นำกลุ่ม 1 คน ต่อ 10 - 20 ครอบครัว ในกรณี ที่มีครอบครัวจำนวนมาก ใช้การแบ่งเป็นกลุ่มย่อย 3 กลุ่ม เพื่อให้ทุกครอบครัวสามารถร่วมกิจกรรมได้ อย่างทั่วถึง และสามารถขยายผลใช้ในพื้นที่ได้รวดเร็ว โปรแกรมประกอบด้วยกิจกรรมกลุ่ม 3 ครั้ง ได้แก่ กิจกรรมครั้งที่ 1 ฉลาดรัก กิจกรรมครั้งที่ 2 ฉลาดเลี้ยง และกิจกรรมครั้งที่ 3 ฉลาดดูแล ครั้งละประมาณ 3 ชั่วโมง ห่างกันครั้งละ 2 - 8 สัปดาห์ เพื่อให้เกิดการติดตามและนำไปใช้ที่บ้าน สามารถจัดในชุมชนหรือที่โรงเรียนตามบริบทของพื้นที่นั้น ๆ - วัยรุ่น โรคซึมเศร้าเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมที่ผิดปกติ ไปจากเดิม ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งสาเหตุของโรคซึมเศร้ามักเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น พันธุกรรม โรคเรื้อรัง ปัญหาครอบครัว ปัญหาการเรียน ปัญหาความสัมพันธ์ เป็นต้น โดยอาการของวัยรุ่นที่มีอาการของโรคซึมเศร้าอาจไม่ได้แสดงออกเป็นอารมณ์เศร้าโดยตรง บางรายแสดงออกมาในรูปแบบอื่น ๆ ได้แก่ ขาดความสนใจในสิ่งที่เคยชอบ ไม่พึงพอใจในสิ่งที่เคยเป็นหรือกิจกรรมที่ทำแล้วมีความสุข หรือไม่พอใจผู้คนหรือการใช้ชีวิต บางรายอาจแสดงออกเป็นความหงุดหงิด ก้าวร้าวหรือเซื่องซึม น้ำหนักลดหรือเพิ่มโดยไม่ได้เกิดจากตั้งใจลดน้ำหนัก นอนไม่หลับหรือหลับมากไป อยู่ไม่ค่อยนิ่ง หรือเชื่องช้า ดูไร้เรี่ยวแรง หรือไม่ค่อยมีพลังงานในชีวิตประจำวัน รู้สึกไร้ค่าหรือรู้สึกผิดอย่างไม่เหมาะสม ขาดสมาธิ คิดช้าลงหรือตัดสินใจช้าลงบ่อย ๆ คิด/วางแผน/พยายาม/ฆ่าตัวตาย เด็กบางคนสามารถบอกได้ว่ารู้สึกเศร้าบ่อย ๆ เช่น รู้สึกเศร้า ท้อแท้ ว่างเปล่า หมดหวัง โดยอาการเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากผลของการเจ็บป่วยทางร่างกาย สารเสพติดหรือไม่ใช่ปฏิกิริยาปกติหลังจากเหตุการณ์สูญเสีย หากมีอาการเข้าข่ายภาวะซึมเศร้าสามารถประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยแบบประเมินภาวะซึมเศร้า เช่น แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น (PHQ-A) แบบคัดกรอง 2 คำถาม (2Q) แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q) แบบคัดกรองความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย (8Q) ซึ่งวัยรุ่นสามารถประเมินและคัดกรองได้ด้วยตนเอง กรณีมีความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงฆ่าตัวตายสามารถดูแลช่วยเหลือตนเองเบื้องต้นโดยการดูแลตนเองพื้นฐาน เช่น การรับประทานอาหาร การพักผ่อนให้เพียงพอ การทำกิจกรรมที่เคยชอบ การออกกำลังกาย หารมีอาการมากจนกระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวันควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม สำหรับบุคลากรสาธารณสุขหรือบุคลากรการศึกษาที่พบวัยรุ่นที่เข้าข่ายภาวะซึมเศร้าสามารถคัดกรองภาวะซึมเศร้าและสัมภาษณ์ ซักประวัติให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการรักษา พร้อมทั้งให้คำแนะนำวัยรุ่นในการดูแลตนเอง การผ่อนคลายความเครียด การจัดการอารมณ์ รวมถึงแนะนำผู้ปกครองในการดูแล การรับประทานยา และการค้นหาสัญญาณเตือนการฆ่าตัวตาย "

Data and Resources

Additional Info

Field Value
* Data Type ข้อมูลระเบียน
Allow for harvest to GD-Catalog Yes
* Contact Person กลุ่มงานวิชาการสุขภาพจิต
* Contact Email mhc03@dmh.mail.go.th
* Objective พันธกิจหน่วยงาน
* Update Frequency Unit ตามเวลาจริง
Update Frequency Interval
* Geo Coverage ไม่มี
* Data Source พันธกิจหน่วยงาน
* Data Format CSV
* Data Category ข้อมูลสาธารณะ
Data Classification
* License Open Data Common
Accessible Condition ร้องขอข้อมูลการติดต่อเพิ่มเติมจากกลุ่มงานวิชาการศูนย์สุขภาพจิตที่ 3
Data Support
Data Collect
URL https://mhc3.dmh.go.th/data_catalog_mhc3/67/DataSet_21_02.csv
Data Language ไทย
Created date February 15, 2024
Last updated date February 27, 2024
High Value Dataset
Reference Data
Create by การนำเข้าโดย templete
Created May 28, 2024
Last Updated September 17, 2024