โครงการศึกษาผลกระทบการส่งเสริมยานยนต์ทางเลือกและการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่งในประเทศไทยต่อการส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพ

(ดำเนินโครงการในปี พ.ศ. 2562) ประเทศไทยมีความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับราคาน้ำมันก็ได้เพิ่มขึ้นสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน การใช้น้ำมันฟอสซิลนั้นอาจจะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสูญเสียงบประมาณในการนำเข้าน้ำมันดิบเพราะประเทศไทยพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบมากกว่าร้อยละ 50 ในปี 2558 จากเหตุการณ์ ดังกล่าวจึงทำให้รัฐบาลเล็งเห็นพลังงานทางเลือกที่เป็นผลผลิตจากพืชผลทางการเกษตร และแหล่งพลังงานอื่นในการใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิง

นโยบายของประเทศไทยมีนโยบายเพื่อส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ และมีการจำหน่ายอย่างแพร่หลาย เช่น น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10 E20 E85 และไบโอดีเซล B7 แม้ว่าการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซลจะช่วยลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากปิโตรเลียมได้ แต่ก็ยังมีสัดส่วนในเชิงปริมาณที่น้อยอยู่

ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560 เห็นชอบมาตรการสนับสนุนการผลิตยานยนต์ ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการออกมาตรการเพื่อสนับสนุนการผลิตยานยนต์ ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยให้เกิดผลเป็นรูปธรรมนั้น ในปัจจุบันพลังงานทางเลือก เช่น ยานยนต์ไฟฟ้าเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการช่วยลดมลพิษ และลดการนำเข้าน้ำมัน เทคโนโลยีของยานยนต์ไฟฟ้านั้นสามารถใช้งานร่วมกับน้ำมันได้ในสัดส่วนเอทานอลร้อยละ 10 ในเครื่องยนต์เบนซิน พร้อมทั้งนโยบายรัฐบาลที่ส่งเสริมให้มีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า และสถานีอัดประจุ ภายในประเทศให้มีมากขึ้น นอกจากนั้นในปัจจุบันยังมีการพัฒนายานยนต์ทางเลือกอื่นย่างต่อเนื่อง อย่างเช่น รถยนต์ที่ใช้ Fuel cell รถยนต์ Hydrogen เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล ซึ่งปลดปล่อยมลภาวะสูง และเพื่อลดการใช้ทรัพยากรในประเทศให้มากขึ้น การสนับสนุนให้เพิ่มจำนวนของยานยนต์ทางเลือกและการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่งนั้น อาจจะส่งผลกระทบต่อนโยบายการส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในอนาคต ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำการศึกษาผลกระทบส่งเสริมยานยนต์ทางเลือกและการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่งในประเทศไทยต่อการส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพ และการศึกษาเทคโนโลยีของยานยนต์ทางเลือกที่ใช้งานร่วมกับเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีสัดส่วนที่สูงขึ้น เพื่อประเทศไทยจะได้เตรียมพร้อมในด้านโครงสร้างของนโยบายที่สอดคล้องกันลดการนำเข้าพลังงานน้ำมัน และใช้พลังงานทางเลือกให้มากขึ้น

วัตถุประสงค์ -เพื่อศึกษาการส่งเสริมยานยนต์ทางเลือกและการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่งของประเทศไทย ที่มีผลกระทบต่อการส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพในเชิงปริมาณและนโยบายการส่งเสริมรถยนต์ทางเลือกทั้งในและต่างประเทศและคาดการณ์แนวโน้มการใช้เชื้อเพลิงและรถยนต์ทางเลือกในอนาคต -เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ทางเลือกให้สามารถใช้ร่วมกับเชื้อเพลิงชีวภาพในสัดส่วนที่เหมาะสม

กลุ่มเป้าหมาย หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้เสียในการส่งเสริมยานยนต์ทางเลือกและการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่งในประเทศไทยต่อการส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพ

Data and Resources

Additional Info

Field Value
* Data Type ข้อมูลระเบียน
Allow for harvest to GD-Catalog Yes
* Contact Person กองพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ
* Contact Email bioethanol@dede.go.th
* Objective
  • ยุทธศาสตร์ชาติ
  • พันธกิจหน่วยงาน
* Update Frequency Unit ตามเวลาจริง
Update Frequency Interval
* Geo Coverage ประเทศ
* Data Source มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
* Data Format PDF
* Data Category ข้อมูลสาธารณะ
Data Classification
* License Creative Commons Non-Commercial (Any)
Accessible Condition
Data Support สถาบันการศึกษา
Data Collect ไม่มี
URL
Data Language
  • ไทย
  • อังกฤษ
Created date October 3, 2022
Last updated date October 3, 2022
High Value Dataset No
Reference Data No
Create by การนำเข้าโดย templete
Created October 3, 2022
Last Updated November 23, 2022