บริการสุขภาพจิตกลุ่มวัยผู้สูงอายุ โดยใช้ ความสุข 5 มิติ ในผู้สูงอายุ

"ผู้สูงอายุ คือบุคคลที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป (พรบ. ผู้สูงอายุแห่งชาติ, 2540) มีการแบ่งเกณฑ์ผู้สูงอายุตามสภาพของการมีอายุเพิ่มขึ้นในลักษณะของการแบ่งช่วงอายุของประเทศไทยดังนี้ ผู้สูงอายุ (Elderly) คือ อายุระหว่าง 60 – 69 ปี คนชรา (Old) คือ อายุระหว่าง 70 – 79 ปี คนชรา (Very old) คือ อายุตั้งแต่ 80 ปี ขึ้นไป ความสุข (Happiness) ในเชิงจิตวิทยา เป็นการวดเฉพาะความอยู่ดีทางอารมณ์ (emotional well – being) โดยวัดรวมเอามิติของสุขภาพกาย (physical health) รวมเข้ามาเป็นบริบทของความอยู่ดี มีสุข (Lyubommirsky ; 2008) ความสุข 5 มิติเป็นแนวคิดในการสร้างสุขจากหลักธรรมะ ผสมผสานกับแนวคิดการสร้างสุข เชิงจิตวิทยาและ แนวคิดในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม (อัมพร เบญจพลพิทักษ์และคณะ, 2555)เพื่อทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี โดยสามารถจำแนกความสุขของผู้สูงอายุ 5 มิติ ดังนี้ ด้านที่ 1 : สุขสบาย (Health) หมายถึง ความสามารถของผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพร่างกาย ให้มีสมรรถภาพร่างกายที่แข็งแรง คล่องแคล่ว มีกำลัง สามารถตอบสนองต่อความต้องการทางกายภาพได้ ตามสภาพที่เป็นอยู่ มีเศรษฐกิจหรือปัจจัยที่จำเป็นพอเพียงไม่มีอุบัติภัยหรืออันตราย มีสภาพแวดล้อม ที่ส่งเสริมสุขภาพ ไม่ติดสิ่งเสพติด วิธีส่งเสริมความสุขสบาย : การออกกำลังกายตามศักยภาพของตนเอง วันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง เช่น การบริหารร่างกายประจำวัน ฝึกโยคะ ฝึกชี่กง ฝึกการออกกำลังกายในท่าต่าง ๆ ด้านที่ 2 : สุขสนุก (Recreation) หมายถึง ความสามารถของผู้สูงอายุในการเลือกวิถีชีวิตที่รื่นรมย์ สนุกสนาน ด้วยการทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดอารมณ์เป็นสุข จิตใจสดชื่นแจ่มใส กระปรี้กระเปรา มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งกิจกรรมที่เหล่านี้สามารถลดความซึมเศร้า ความเครียดและความวิตกกังวลได้ วิธีส่งเสริมความสุขสนุก : 1) เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ/กิจกรรมต่างๆ ที่สร้างความสดชื่นความมีชีวิตชีวาอย่างสร้างสรรค์ และดีงาม 2) มีกิจกรรมภายในครอบครัวกับลูกหลาน เช่น ทานข้าว ไปเที่ยว พูดคุยกัน และ 3) เล่นดนตรี ศิลปะ ปลูกต้นไม้ หรืองานอดิเรกที่ชอบ ด้านที่ 3 : สุขสง่า (Integrity) หมายถึง ความรู้สึกพึงพอใจในชีวิต ความภาคภูมิใจในตนเอง ความเชื่อมั่นในตนเอง เห็นคุณค่าในตนเองการยอมรับนับถือตนเอง ให้กำลังใจตนเองได้ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีลักษณะเอื้อเฟื้อแบ่งปัน และมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้อื่นในสังคม วิธีส่งเสริมความสุขสง่า : 1) ช่วยเหลือตนเองในเรื่องง่ายๆ เช่น กิจวัตรประจำวัน 2) ช่วยเหลือกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน 3) มีจิตอาสา ให้การช่วยเหลือผู้อื่นในสังคม และ 4) ฝึกทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดีหรือผู้ถามที่ดี เช่น มองประสานตาผู้พูด ตั้งใจฟัง มีสติ และพยายามจับประเด็นสำคัญในสิ่งที่ผู้พูดพูดออกมา ซักถามในจุดที่สงสัยในประเด็นที่เป็นปัญหา ซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้ฟังตามทันในเรื่องที่ผู้พูดกำลังพูด ด้านที่ 4 : สุขสว่าง (Cognition) หมายถึงความสามารถของผู้สูงอายุด้านความจำ ความคิดอย่างมีเหตุมีผล การสื่อสาร การวางแผนและการแก้ไขปัญหา ความสามารถในการคิดแบบนามธรรม รวมทั้งความสามารถ ในการจัดการสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิธีส่งเสริมความสุขสว่าง : 1) เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อน 2) พบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อน ๆ หรือวัยอื่น ๆ และ 3) บริหารสมองอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เช่น การทำกิจกรรมบริหารสมองด้วยสองมือ ด้านที่ 5 : สุขสงบ (Peacefulness) หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการรับรู้-เข้าใจความรู้สึกของตนเอง รู้จักควบคุมอารมณ์ และสามารถจัดการกับสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถผ่อนคลาย ให้เกิดความสุขสงบกับตนเองได้ รวมทั้งความสามารถในการปรับตัวยอมรับสภาพสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง (สุจริต สุวรรณชีพ, 2554 และ สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต, 2554) วิธีส่งเสริมความสุขสงบ : 1) ฝึกการคิดเชิงบวก 2) ฝึกควบคุมอารมณ์ และ 3) ฝึกคลายเครียด/ฝึกหายใจ อย่างถูกวิธี "

Data and Resources

Additional Info

Field Value
* Data Type ข้อมูลระเบียน
Allow for harvest to GD-Catalog Yes
* Contact Person กลุ่มงานวิชาการสุขภาพจิต
* Contact Email mhc03@dmh.mail.go.th
* Objective พันธกิจหน่วยงาน
* Update Frequency Unit ตามเวลาจริง
Update Frequency Interval
* Geo Coverage ไม่มี
* Data Source พันธกิจหน่วยงาน
* Data Format CSV
* Data Category ข้อมูลสาธารณะ
Data Classification
* License Open Data Common
Accessible Condition ร้องขอข้อมูลการติดต่อเพิ่มเติมจากกลุ่มงานวิชาการศูนย์สุขภาพจิตที่ 3
Data Support
Data Collect
URL https://mhc3.dmh.go.th/data_catalog_mhc3/67/DataSet_21_04.csv
Data Language ไทย
Created date January 15, 2024
Last updated date February 27, 2024
High Value Dataset
Reference Data
Create by การนำเข้าโดย templete
Created May 28, 2024
Last Updated September 17, 2024