การออกแบบกรอบตัวอย่างและวิธีการเลือกตัวอย่าง (สำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย)

โครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย (MICS) เป็นโครงการสำรวจตัวอย่าง โดยมีการกำหนดขนาดตัวอย่างให้เพียงพอต่อการเสนอผลการสำรวจในระดับจังหวัด (ไม่จำแนกเขตการปกครอง) เสนอผลการสำรวจในระดับภาค (ไม่จำแนกเขตการปกครอง) ส่วนในระดับทั่วประเทศ เสนอผลการสำรวจจำแนกเขตการปกครอง คือ ในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล การสำรวจนี้ กำหนดให้ใช้แผนการเลือกตัวอย่างแบบ Stratified Two - Stage Sampling โดยมีเขตแจงนับ (Enumeration Area : EA) เป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่หนึ่ง และครัวเรือนส่วนบุคคล เป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่สอง
กรอบตัวอย่างขั้นที่หนึ่ง กำหนดให้ใช้บัญชีรายชื่อเขตแจงนับ (EA) ที่ได้จากโครงการสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553 และมีการปรับปรุงข้อมูลจากการนับจด (listing) ครัวเรือน โครงการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือน (สพค.) เป็นประจำทุกปี สำหรับการเลือกหน่วยตัวอย่างขั้นที่หนึ่ง กำหนดให้เลือก EA ตัวอย่าง ในแต่ละจังหวัดจำแนกตามเขตการปกครองอย่างอิสระต่อกัน โดยให้ความน่าจะเป็นในการเลือกเป็นปฏิภาคกับจำนวนครัวเรือนของ EA นั้นๆ กรอบตัวอย่างขั้นที่สอง กำหนดให้ใช้บัญชีรายชื่อครัวเรือนส่วนบุคคล ที่ได้จากการนับจด โครงการ สพค. สำหรับการเลือกหน่วยตัวอย่างขั้นที่สอง กำหนดให้เลือกครัวเรือนส่วนบุคคลตัวอย่าง ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบมีระบบ

Data and Resources

Additional Info

Field Value
* Data Type ข้อมูลประเภทอื่นๆ
เอกสาร
Allow for harvest to GD-Catalog Yes
* Contact Person กลุ่มระเบียบวิธีสถิติ
* Contact Email method@nso.mail.go.th
* Objective ดัชนี/ตัวชี้วัดระดับนานาชาติ
* Update Frequency Unit ปี
Update Frequency Interval 3
* Geo Coverage ประเทศ
* Data Source โครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติ
* Data Format PDF
* Data Category ข้อมูลสาธารณะ
Data Classification
* License License not specified
Accessible Condition ไม่มี
Data Support ไม่มี
Data Collect บุคคล
URL http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/สำรวจ/ด้านสังคม/แรงงาน/สถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย.aspx
Data Language ไทย
Created date
Last updated date
High Value Dataset No
Reference Data No
Create by การนำเข้าโดย templete
Created August 16, 2022
Last Updated November 23, 2022