ข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย

ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งในโครงการรวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 โดยเป็นคลังความรู้ในรูปแบบดิจิทัล ที่รวบรวมและให้บริการข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ทั่วประเทศ อาทิ ประวัติความเป็นมา การจัดแสดง การบริหารจัดการ ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการเข้าชม เอกสารและสื่อสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งภาพถ่าย แผ่นพับ แผนที่ และสื่อมัลติมีเดียอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเผยแพร่บทความทางวิชาการและความรู้เบื้องต้นในเชิงพิพิธภัณฑ์วิทยาและ มานุษยวิทยาพิพิธภัณฑ์ ทั้งนี้เนื้อหาทั้งหมดที่เผยแพร่อยู่ในฐานข้อมูลนี้ มีวัตุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์ในการวิจัยหรือการศึกษา มิได้เพื่อหาผลประโยชน์เชิงพาณิชย์

ทั้งนี้เพื่อให้เว็บไซต์ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย ทำหน้าที่เป็นเวทีกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเจ้าของพิพิธภัณฑ์ นักวิชาการ นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจเรื่องพิพิธภัณฑ์ ในปี 2554 เว็บไซต์ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบให้ผู้ใช้สามารถเพิ่มเนื้อหา แสดงความคิดเห็น รีวิวพิพิธภัณฑ์ ส่งข่าว แก้ไขและเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ ได้ ด้วยตนเอง เป็นลักษณะเครือข่ายทางสังคมที่แบ่งปันความรู้ ความคิด และเป็นกำลังใจต่อการทำงานของชาวพิพิธภัณฑ์ เพื่อพิพิธภัณฑ์จะได้เข้มแข็ง ยั่งยืน และสนองตอบต่อสังคมได้ต่อไป

สำหรับการทำงานวิจัย สำรวจ และเก็บข้อมูลในช่วง 4 ปีแรก ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ปัจจุบันการพัฒนาระบบและการบริหารจัดการฐานข้อมูลอยู่ภายใต้การดูแลและสนับสนุนโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) ในส่วนงานวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เป็นงานกรณีศึกษา ที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรทำงานกับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น 3 แห่งได้แก่ พิพิธภัณฑ์วัดท่าพูด จ.นครปฐม พิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวง จ.ลำปาง และพิพิธภัณฑ์วัดบ้านดอน จ.ระยอง โดยสิ้นสุดโครงการเมื่อปี พ.ศ. 2551 การดำเนินงานในส่วนนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างชาวบ้าน และนักวิชาการ โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ลงไปทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ ทั้งเก็บข้อมูลและจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน อาทิ การอนุรักษ์วัตถุ การทำทะเบียนวัตถุ การสืบค้นประวัติวัตถุและเรื่องเล่าเกี่ยวกับท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งเชิงวิชาการให้กับชาวพิพิธภัณฑ์ และส่งเสริมให้พิพิธภัณฑ์เป็นสถาบันทางวัฒนธรรมของชุมชน ที่ไม่เพียงแต่รวบรวมข้าวของเครื่องใช้ในท้องถิ่น แต่ยังสามารถเป็นเวทีถ่ายทอดแลกเปลี่ยนมรดกวัฒนธรรมของท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ นอกจากนี้ในปี 2551 ศูนย์ฯ ได้ริเริ่มจัดงานเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อเป็นเวทีกลางให้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์มาถ่ายทอดเรื่องราวประวัติศาสตร์ มรดกวัฒนธรรมของตนเอง ให้บุคคลทั่วไปได้รู้จักมากขึ้น ทำให้สังคมมองเห็นความหลากหลายทางวัฒนธรรม

データとリソース

追加情報

フィールド
* ประเภทชุดข้อมูล ข้อมูลระเบียน
ยินยอมให้นำชื่อชุดข้อมูลไปใช้ที่ GD-Catalog ยินยอม
* ชื่อฝ่ายงานสำหรับติดต่อ ผู้ดูแลระบบ
* อีเมลสำหรับติดต่อ webmaster@sac.or.th
* วัตถุประสงค์ ไม่ทราบ
* หน่วยความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล ไม่ทราบ
ค่าความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล (ความถี่น้อยที่สุด)
* ขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์หรือเชิงพื้นที่ ประเทศ
* แหล่งที่มา ไม่ทราบ
* รูปแบบการเก็บข้อมูล
  • CSV
  • XLS/XLSX
* หมวดหมู่ข้อมูลตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ข้อมูลสาธารณะ
ระดับชั้นข้อมูล
* ライセンス ライセンスが指定されていません
เงื่อนไขในการเข้าถึงข้อมูล
ผู้สนับสนุนหรือผู้ร่วมดำเนินการ
หน่วยที่ย่อยที่สุดของการจัดเก็บข้อมูล
URL https://data.go.th/dataset/museum
ภาษาที่ใช้ ไทย
วันที่เริ่มต้นสร้าง
วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด
ชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง
ข้อมูลอ้างอิง
Create by การนำเข้าโดย templete
作成日 August 21, 2022
最終更新 August 21, 2022