ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัลของประเทศ

● อันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทยตามการจัดอันดับของ IMD (World Digital Competitiveness Ranking) - เป็นตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับร่างแผนการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ (ฉบับปรับปรุง) กิจกรรมปฏิรูปที่ 3 การเพิ่มโอกาสของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กในอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมาย ตัวชี้วัด 2.2 อันดับความสามารถในการแข่งขันด้านการใช้ เครื่องมือและเทคโนโลยีดิจิทัลอยู่ในกลุ่มอันดับ 1 ใน 36 ในปี 2565 โดยสถาบันการจัดการนานาชาติ (International Institute for Management Development: IMD) - วัดคะแนนจากผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของโลก World Digital Competitiveness ของประเทศไทย ตามการจัดอันดับของ IMD ประจำปี (อันดับรวม) - เป็นการประเมินเพื่อสะท้อนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่ IMD เริ่มเผยแพร่การประเมินครั้งแรกในปี 2017 มีประเทศทั้งหมด 63 ประเทศ - ประกอบด้วยตัววัดทั้งหมด 52 criteria แบ่งเป็น 3 ด้านหลัก คือ 1) Knowledge 2) Technology 3) Future Readiness - การเก็บข้อมูลแบ่งเป็น 1. Hard Data (32 criteria) 2. Survey Data (20 criteria) - IMD รายงานผลในเดือนมิถุนายนของทุกปีซึ่งประเทศไทยมีสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (Thailand Management Association : TMA) เป็น Partnership

● อันดับความสามารถทางการแข่งขันด้าน Technological Infrastructure ของประเทศไทยตามการจัดอันดับของ IMD - เป็นการประเมินประสิทธิผลในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อรองรับการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยพิจารณาจากอันดับความสามารถทางการแข่งขันด้าน Technological Infrastructure ของประเทศไทยตามการจัดอันดับของ IMD - วัดคะแนนจากผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันในด้าน Technological Infrastructure ของประเทศไทย ตามการจัดอันดับของ IMD (WCY 2022) (อันดับรวม) - สำหรับประเมินคุณภาพโครงสร้างพื้นฐานของ International Institute for Management Development (IMD) จาก The World Competitiveness Yearbook (WCY) ที่ประกอบด้วยปัจจัยด้านการแข่งขัน 4 ปัจจัย คือ (1) สมรรถนะทางเศรษฐกิจ (2) ประสิทธิภาพของภาครัฐ (3) ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (4) โครงสร้างพื้นฐาน - สำหรับปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน แบ่งออกเป็น 4 ปัจจัยย่อย ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานทั่วไป (Basic Infrastructure) โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี (Technology Infrastructure) โครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Infrastructure) สุขภาพและสิ่งแวดล้อม (Health and Environment) การศึกษา (Education) - ข้อมูลที่นำมาใช้เป็นเกณฑ์ชี้วัดมาจากสองทาง คือ - Hard data (น้ำหนัก 2 ใน 3) เป็นข้อมูลที่ได้จากองค์กรระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยความร่วมมือจาก 55 สถาบัน (Partner Institutes) แบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ส่วนย่อย คือ Hard data และ Background data - Soft data (น้ำหนัก 1 ใน 3) เป็นข้อมูลจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (Executive Opinion Survey Data) ซึ่ง ได้จากการสอบถามข้อมูลจากผู้บริหารตั้งแต่ระดับกลางจนถึงระดับสูง - IMD รายงานผลทุกปี ซึ่งประเทศไทยมีสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (Thailand Management Association: TMA) เป็น Partnership

Data and Resources

Additional Info

Field Value
* ประเภทชุดข้อมูล ข้อมูลสถิติ
ยินยอมให้นำชื่อชุดข้อมูลไปใช้ที่ GD-Catalog ยินยอม
* ชื่อฝ่ายงานสำหรับติดต่อ กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
* อีเมลสำหรับติดต่อ psdg0402@onde.go.th
* วัตถุประสงค์ ดัชนี/ตัวชี้วัดระดับนานาชาติ
* หน่วยความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล ปี
ค่าความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล (ความถี่น้อยที่สุด) 1
* ขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์หรือเชิงพื้นที่ โลก
* แหล่งที่มา https://www.imd.org/centers/world-competitiveness-center/rankings/
* รูปแบบการเก็บข้อมูล CSV
* หมวดหมู่ข้อมูลตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ข้อมูลสาธารณะ
ระดับชั้นข้อมูล
* License License not specified
เงื่อนไขในการเข้าถึงข้อมูล
URL https://www.imd.org/centers/world-competitiveness-center/rankings/
ภาษาที่ใช้ ไทย
วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด August 23, 2022
วันที่กำหนดเผยแพร่ข้อมูล
ปีข้อมูลที่เริ่มต้นจัดทำ (สำหรับชุดข้อมูลสถิติ)
ปีข้อมูลล่าสุดที่เผยแพร่ (สำหรับชุดข้อมูลสถิติ)
การจัดจำแนก (สำหรับชุดข้อมูลสถิติ)
    หน่วยวัด (สำหรับชุดข้อมูลสถิติ)
    หน่วยตัวคูณ (สำหรับชุดข้อมูลสถิติ)
    วิธีการคำนวณ (สำหรับชุดข้อมูลสถิติ)
    มาตรฐานการจัดทำข้อมูล (สำหรับชุดข้อมูลสถิติ)
    สถิติทางการ
    Create by การนำเข้าโดย templete
    Created May 27, 2024
    Last Updated May 27, 2024